ประชาสัมพันธ์องค์กร

การดำเนินงานปี 2561 ของ บมจ.ทีโอที
การดำเนินงานปี 2561 ของ บมจ.ทีโอที
การดำเนินงานปี 2561 ของ บมจ.ทีโอที

นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที กล่าวถึงภาพรวมการดำเนินงานปี 2561 ของ บมจ.ทีโอที รวมถึงการจัดตั้งบริษัทโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ จำกัด และการดำเนินการโครงการจัดให้มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในหมู่บ้านในพื้นที่ชายขอบ (Zone C+) ในปัจจุบัน ดังนี้

ภาพรวมการดำเนินงานปี 2561 ของ บมจ.ทีโอที ผลการดำเนินงานด้านการเงินของ ทีโอที ไตรมาสแรกงวดเดือนมกราคม – มีนาคม 2561 มีกำไรสำหรับงวด 50 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีผลขาดทุน 1,392 ล้านบาท โดยกำไรเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 1,442 ล้านบาท (104%) มีสาเหตุหลักมาจาก EBITDA จำนวน 2,807 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,618 ล้านบาท (136%) เป็นผลมาจากรายได้จากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 9% และค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานลดลง 12% โดยค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารลดลง 22% และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานลดลง 30% เนื่องจากในเดือนมีนาคม 2560 มีค่าใช้จ่ายจากโครงการ Early Retirement จำนวน 1,040 ล้านบาท ขณะที่ปี 2561 ไม่มีค่าใช้จ่ายนี้ ประกอบกับค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ฯ ลดลง 292 ล้านบาท (9%)

โดยบริการบรอดแบนด์ มีจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็น 1,353,886 ราย มี Net Add +34,807 พอร์ต (เทียบปี 2560 มีจำนวนลูกค้า 1,263,343 ราย มี Net Add -3,313 พอร์ต) และบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็น 495,222 ราย (เทียบปี 2560 มีจำนวนลูกค้า 112,727 ราย) ผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์/แผนธุรกิจ พ.ศ. 2561-2565

สำหรับการจัดตั้งบริษัทโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ จำกัด หรือ บริษัท NBN Co. เป็นการดำเนินการตามมติที่ประชุม คนร. ครั้งที่ 3/2559 เห็นชอบหลักการปรับโครงสร้างของ ทีโอที และ กสท โทรคมนาคม โดย จัดตั้งบริษัท โครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ จำกัด หรือ บริษัท NBN Co. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้ ในการจัดตั้งบริษัท NBN Co. ได้มีการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษาที่กระทรวงดิจิทัลฯ จ้าง (บริษัทดีลอยด์ท (ประเทศไทย) จำกัด) โดย ทีโอที ได้เสนอ ขอจ้างที่ปรึกษา (บริษัท PWC) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้รูปแบบธุรกิจ และขอบเขตทรัพย์สินที่เหมาะสม และต่อมาได้จ้างที่ปรึกษาบริษัท เดเทคอน เพื่อประเมินทรัพย์สิน ทั้งนี้ ผลการศึกษาของที่ปรึกษา บริษัท PWC และ บริษัท เดเทคอน สอดคล้องกันในหลักการในเรื่องรูปแบบธุรกิจ และขอบเขตทรัพย์สินที่โอนไปยังบริษัท โครงข่าย บรอดแบนด์แห่งชาติ จำกัด อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีการโอนทรัพย์สินจาก ทีโอที ไปยังบริษัท โครงข่าย บรอดแบนด์แห่งชาติ จำกัด หรือ บริษัท NBN Co. ถึงแม้กระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นทั้งหมดของ ทีโอที จะมีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว แต่การดำเนินการเรื่องดังกล่าวอยู่ระหว่างการรอผลการพิจารณาจากคณะทำงานพิจารณาแผนรองรับการเปลี่ยนผ่านของ บมจ.ทีโอที บมจ.กสท โทรคมนาคม NBN และ NGDC ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมีท่านปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานฯ ทั้งนี้ รวมถึงในส่วนของข้อเสนอเกี่ยวกับอุปกรณ์ OLT และ ODN เพื่อให้ลูกค้าได้รับบริการที่ดี ซึ่งได้มีการนำเสนอคณะทำงานพิจารณาแผนรองรับการเปลี่ยนผ่านฯ และผู้เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณา

ในส่วนของการดำเนินการโครงการจัดให้มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในหมู่บ้านในพื้นที่ชายขอบ (Zone C+) ซึ่งตามที่มีการอ้างว่า ทีโอที จ่ายค่าปรับให้ กสทช. เนื่องจาก ทีโอที ไม่สามารถส่งมอบงานตามโครงการจัดให้มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ฯ (Zone C+) เป็นจำนวน 30 กว่าล้านบาทนั้น ข้อเท็จจริงคือ หลังจากที่ กสทช. มีหนังสือลงวันที่ 5 มีนาคม 2561 แจ้งการปรับตามสัญญา นั้น ทีโอที ได้เข้าพบคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงสาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดข้องในการดำเนินงาน ซึ่งคณะกรรมการตรวจรับยังไม่มีการสรุปเรื่องนี้ และ ทีโอที ยังไม่ได้จ่ายเงินค่าปรับแต่อย่างใด

นอกจากนี้ การดำเนินงานที่ผ่านมา ทีโอที สามารถสนองนโยบายของ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ มีผลการดำเนินงานในโครงการสำคัญต่างๆ ที่จะสามารถสร้างรายได้ให้ ทีโอที ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ หรือ โครงการเน็ตประชารัฐ 24,700 หมู่บ้านที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จตามเป้าหมาย รวมถึงการได้รับมอบหมายจากกระทรวงดิจิทัลฯ เพื่อดำเนินการโครงการขยายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่พัฒนาคุณภาพชีวิต (โครงการ Big Rock) รวมทั้งปรับปรุงโครงข่ายที่เป็นเทคโนโลยีแบบเก่าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วยเคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ไปยังโรงเรียนและโรงพยาบาลของรัฐที่ยังไม่มีโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและขยายความจุอินเทอร์เน็ต (Bandwidth) ให้กับโรงพยาบาล เพื่อรองรับการตรวจรักษาทางไกล (Tele-Medicine) และโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสื่อสัญญาณสายเคเบิลใยแก้วนำแสง (FTTx) ให้ครอบคลุมหมู่บ้านเป้าหมายในพื้นที่ที่ไม่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์และยังไม่มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่เหลืออีกจำนวน 15,732 หมู่บ้าน รวมถึงการร่วมเป็นพันธมิตรธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2100 MHz และบริการบรอดแบนด์ไร้สาย 2300 MHz ซึ่งจะสร้างรายได้อีกส่วนหนึ่ง นอกเหนือจากการดำเนินธุรกิจโดย ทีโอที ทั้งนี้ การดำเนินงานของ ทีโอที จะตอบโจทย์ประเทศในด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมในการลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อนยกระดับโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารโทรคมนาคมให้ครอบคลุมชุมชนหรือครัวเรือนต่างๆ ในพื้นที่ห่างไกลทั่วประเทศช่วยลดความเหลื่อมล้ำของคนไทยอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อประเทศและประชาชนในภาพรวม และรวมถึงประโยชน์กับ ทีโอที ที่จะมีบทบาทในการดำเนินธุรกิจให้บริการลูกค้าที่หลากหลาย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เน็ตประชารัฐ

นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลมะม่วงสองต้น อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
อ่านต่อ
NT

รมว.ดีอีเอส นำ ผู้บริหาร และพนักงาน NT ลงพื้นที่เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
อ่านต่อ
ข่าวประชาสัมพันธ์

NT เปิดตัวบริการ “Health Link” ระบบเชื่อมโยงข้อมูลประวัติการรักษาผู้ป่วยสถานพยาบาลรัฐ-เอกชนกว่า 100 แห่ง
อ่านต่อ
ข่าวประขาสัมพันธ์

ธนาคารออมสิน จับมือ NT ร่วมพัฒนาสังคม ชุมชน ผ่านโครงการ CSR พร้อมนำชุมชน เข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศให้กับชุมชน
อ่านต่อ
รางวัล

NT ได้รางวัลรับรองมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก (GECC) ประจำปี 2564 ให้แก่หน่วยงานที่ผ่านการรับรอง
อ่านต่อ