Business Services

เลือกบริการที่คุณสนใจ


Communication
Service
บริการทางการสื่อสาร
Internet
Service
บริการอินเทอร์เน็ต
Computer Network
Service
บริการคอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ค
Digital Solution
Service
บริการ Digital Solution
International
Service
บริการระหว่างประเทศ

Corporate News

ข่าวสารธุรกิจองค์กรของเรา

ติดตามข่าวที่น่าสนใจได้ที่นี่
ข่าวประชาสัมพันธ์

ทีโอที ใช้ 5G หนุนศักยภาพหน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช 2020
ทีโอที ใช้ 5G หนุนศักยภาพหน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช 2020 เพิ่มโอกาสรักษาผู้ป่วยหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน

วันที่ 26 พฤษภาคม 2563 เวลา 11.00 . คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผนึกกำลัง 3 ผู้นำเทคโนโลยีเครือข่ายอัจฉริยะ 5G ของไทย ได้แก่ ทรู เอไอเอส และทีโอที ซึ่งโดดเด่นในศักยภาพอินเอร์เน็ตความเร็วสูง ความหน่วงต่ำ และความสามารถในการเชื่อมต่ออุปกรณ์หลากหลาย มาเพิ่มประสิทธิภาพให้ “หน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช (Siriraj Mobile Stroke Unit)” รักษาผู้ป่วยที่มีอาการโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันได้เป็นอย่างดี เพื่อชีวิตและสุขภาพของคนไทย โดยมี .ดร. นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล เป็นประธานการแถลงข่าวร่วมกับ รศ. ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล นายพิรุณ ไพรีพ่ายฤทธิ์ หัวหน้าคณะทำงานและกรรมการยุทธศาสตร์ 5G บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) นายรังสรรค์ จันทร์นฤกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจสื่อสารไร้สาย บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ณ ห้องประชุม 101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ (SIMR) ชั้น 1 รพ.ศิริราช

.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า การผนึกกำลังของมหาวิทยาลัยมหิดล สนับสนุนโดยผู้นำเครือข่าย 5G เรามุ่งพัฒนาเพื่อสังคมส่วนรวมให้ประชาชนคนไทยได้เข้าถึงการรักษาในระยะฉุกเฉินให้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันทั้งชนิดตีบและแตกอย่างรวดเร็ว ด้วยหน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช (Siriraj Mobile Stroke Unit) เปรียบเสมือนการนำโรงพยาบาลไปสู่ชุมชน เพื่อลดระยะเวลาในการเปิดหลอดเลือดสมองที่อุดตันทำให้อัตราการเสียชีวิตและพิการลดลงได้ โดยจะใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่มีอาการตาตก ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง แบบเบ็ดเสร็จในรถ ตั้งแต่เริ่มมีอาการไม่เกิน 4 ชั่วโมง โดยผู้พบผู้ป่วยโทรแจ้ง 1669 เข้าศูนย์เอราวัณ ทางศูนย์ฯ จะคัดกรอง แล้วแจ้งต่อไปยังหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) ในเขตที่ดูแลเพื่อให้เข้าไปรับผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ เพื่อตรวจคัดกรองอาการและนำผู้ป่วยมาที่จุดนัดพบสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ขณะเดียวกันทางศูนย์เอราวัณก็แจ้งหน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ ศิริราช (Siriraj Mobile Stroke Unit) ที่มีผู้เชี่ยวชาญโรคหลอดเลือดสมองเป็นผู้รับสายและซักถามอาการ และตามทีมแพทย์ พยาบาล นักรังสีการแพทย์ และพนักงานขับรถ ให้ออกปฏิบัติการรับผู้ป่วย เพื่อการรักษาในรถของหน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช (Siriraj Mobile Stroke Unit) ที่จุดนัดพบ ตามที่ได้ประสานงานไว้แล้ว ขณะนี้ รถรุ่นใหม่ หน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช 2020 จำนวน 3 คัน อยู่ระหว่างการผลิต กำหนดแล้วเสร็จของรถคันที่ 2 ประมาณเดือนสิงหาคม 2563 และคันที่ 3 และ 4 จะแล้วเสร็จภายในปี 2563

ด้าน รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเพิ่มเติมว่า หน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ (Mobile Stroke Unit) ในรูปแบบของรถมาจากความคิดริเริ่มของศูนย์โรคหลอดเลือดสมองศิริราช พัฒนารถต้นแบบคันแรกเสร็จในปี 2561 ซึ่งต่อมาในปี 2562 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พัฒนาความก้าวหน้าทางสมรรถนะและเทคโนโลยี ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จากสองปีที่เปิดบริการแก่ประชาชนสามารถรองรับการรักษาช่วยผู้ป่วย 287 ราย ตอบโจทย์การแพทย์-ดิจิทัลเฮลท์แคร์และเฮลท์เทค สำหรับ ปี 2563 นี้ จะเป็นรถรุ่นใหม่ หน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช 2020 จำนวน 3 คัน ด้วยความร่วมมือของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยทีมวิศวกรและนวัตกรผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกแบบและพัฒนาโครงสร้างรถ ระบบวิศวกรรมต่าง ๆ และระบบการสื่อสารภายในรถที่ก้าวหน้าทันสมัยด้วยเทคโนโลยี ผ่านการทดสอบสมรรถนะและความปลอดภัยด้านยานยนต์ ตามมาตรฐานสหภาพยุโรป หรือ EU ครบครันด้วยระบบกู้ชีพ และระบบการแพทย์ทางไกล หรือ Telemedicine เชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสารภายในรถกับโครงข่ายสื่อสาร 5G ด้วยซิมครันด้วย

ในส่วนของการสนับสนุนด้านระบบโทรคมนาคมได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากผู้ประกอบการสื่อสารโทรคมนาคมและดิจิทัล ทั้ง ทรู คอร์ปอเรชั่น เอไอเอส และ ทีโอที ซึ่งนำเทคโนโลยี 5G มาเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช (Siriraj Mobile Stroke Unit)

นายรังสรรค์ จันทร์นฤกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจสื่อสารไร้สาย บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และโรงพยาบาลศิริราช ในความร่วมมือทางวิชาการ สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากโครงข่าย 5G ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคม โดยเฉพาะการพัฒนาประเทศด้านสาธารณสุข ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประชาชน ด้วยเป้าหมายให้ประชาชนทุกพื้นที่มีโอกาสได้รับบริการ หรือได้ประโยชน์อย่างเท่าเทียม ทีโอที ให้ความสำคัญกับการให้บริการโทรคมนาคม และบริการดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจากศักยภาพของโครงข่าย 5G ที่มีจุดเด่นเรื่องความเร็วสูง ความหน่วงต่ำ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยให้การรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ มีความละเอียดสูง สามารถสื่อสารผ่านระบบแพทย์ทางไกลความเร็วสูง ทำให้การสื่อสารมีความสะดวก รวดเร็ว คุณภาพสูง มีความแม่นยำ และมีประสิทธิภาพสูง ช่วยให้การประสานงานส่งต่อผู้ป่วยจากหน่วยรถพยาบาลการแพทย์ฉุกเฉิน มาสู่รถ Siriraj Mobile Stroke Unit ด้วยความปลอดภัย ซึ่งการบริการโทรคมนาคมเพื่อสาธารณสุขของไทย ทีโอที ถือเป็นพันธกิจสำคัญในการกระจายโอกาสที่ประชาชนทุกคนจะได้รับบริการที่มีคุณภาพอย่างรวดเร็ว และในอนาคต ทีโอที มีแผนงานที่จะใช้คลื่น 5G นำไปพัฒนาเพิ่มศักยภาพในด้านอื่น ๆ เพื่อจะมีส่วนช่วยในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวมต่อไป


ซึ่งเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร 5G ที่มีเสถียรภาพและความเร็วสูง ผสานกับการออกแบบตัวรถและระบบ Mobile Stroke Unit จะช่วยเรื่องการติดต่อสื่อสารแบบสองทาง การส่งภาพ CT Scan สมองและสัญญาณชีพของผู้ป่วย ซึ่งเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้อย่างรวดเร็วเสมือนกับผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหลอดเลือดสมอง แม้ว่าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะอยู่ห่างออกไปหลายร้อยหรือหลายพันกิโลเมตรก็ตาม ด้วยข้อมูลที่เป็นเรียลไทม์และมีความละเอียดสูงจะส่งผลให้การตัดสินใจวางแผน และทำการรักษาของบุคคลากรการแพทย์สามารถกระทำได้ทันทีและแม่นยำก่อนผู้ป่วยจะเดินทางมาถึงโรงพยาบาล ดังนั้น การมีเทคโนโลยี 5G จะเพิ่มโอกาสให้กับผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกล และลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ขั้นสูงของประชาชนคนไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวทั่วไป

ทีโอที มอบซิม TOT Mobile ให้ รพ.มหาวชิราลงกรณธัญบุรี เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ด้านการแพทย์และสาธารณสุขในช่วงสถานการณ์โรคโควิด-19
อ่านต่อ
ข่าวทั่วไป

ทีโอที มอบซิม TOT Mobile ชุด TOT SIM for Work โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายให้กับโรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลรามาธิบดีและ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
อ่านต่อ
ข่าวประชาสัมพันธ์

TOTmobile ตอบโจทย์การเรียนออนไลน์ โรงเรียนโพธิสารพิทยากร นำร่องมอบซิม TOTmobile ให้นักเรียนทุกคนใช้เรียนออนไลน์ ห่างไกลโควิด-19
อ่านต่อ
ข่าวประชาสัมพันธ์

ทีโอที ใช้ 5G หนุนศักยภาพหน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช 2020
ทีโอที ใช้ 5G หนุนศักยภาพหน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช 2020 เพิ่มโอกาสรักษาผู้ป่วยหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน

วันที่ 26 พฤษภาคม 2563 เวลา 11.00 . คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผนึกกำลัง 3 ผู้นำเทคโนโลยีเครือข่ายอัจฉริยะ 5G ของไทย ได้แก่ ทรู เอไอเอส และทีโอที ซึ่งโดดเด่นในศักยภาพอินเอร์เน็ตความเร็วสูง ความหน่วงต่ำ และความสามารถในการเชื่อมต่ออุปกรณ์หลากหลาย มาเพิ่มประสิทธิภาพให้ “หน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช (Siriraj Mobile Stroke Unit)” รักษาผู้ป่วยที่มีอาการโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันได้เป็นอย่างดี เพื่อชีวิตและสุขภาพของคนไทย โดยมี .ดร. นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล เป็นประธานการแถลงข่าวร่วมกับ รศ. ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล นายพิรุณ ไพรีพ่ายฤทธิ์ หัวหน้าคณะทำงานและกรรมการยุทธศาสตร์ 5G บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) นายรังสรรค์ จันทร์นฤกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจสื่อสารไร้สาย บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ณ ห้องประชุม 101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ (SIMR) ชั้น 1 รพ.ศิริราช

.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า การผนึกกำลังของมหาวิทยาลัยมหิดล สนับสนุนโดยผู้นำเครือข่าย 5G เรามุ่งพัฒนาเพื่อสังคมส่วนรวมให้ประชาชนคนไทยได้เข้าถึงการรักษาในระยะฉุกเฉินให้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันทั้งชนิดตีบและแตกอย่างรวดเร็ว ด้วยหน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช (Siriraj Mobile Stroke Unit) เปรียบเสมือนการนำโรงพยาบาลไปสู่ชุมชน เพื่อลดระยะเวลาในการเปิดหลอดเลือดสมองที่อุดตันทำให้อัตราการเสียชีวิตและพิการลดลงได้ โดยจะใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่มีอาการตาตก ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง แบบเบ็ดเสร็จในรถ ตั้งแต่เริ่มมีอาการไม่เกิน 4 ชั่วโมง โดยผู้พบผู้ป่วยโทรแจ้ง 1669 เข้าศูนย์เอราวัณ ทางศูนย์ฯ จะคัดกรอง แล้วแจ้งต่อไปยังหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) ในเขตที่ดูแลเพื่อให้เข้าไปรับผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ เพื่อตรวจคัดกรองอาการและนำผู้ป่วยมาที่จุดนัดพบสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ขณะเดียวกันทางศูนย์เอราวัณก็แจ้งหน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ ศิริราช (Siriraj Mobile Stroke Unit) ที่มีผู้เชี่ยวชาญโรคหลอดเลือดสมองเป็นผู้รับสายและซักถามอาการ และตามทีมแพทย์ พยาบาล นักรังสีการแพทย์ และพนักงานขับรถ ให้ออกปฏิบัติการรับผู้ป่วย เพื่อการรักษาในรถของหน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช (Siriraj Mobile Stroke Unit) ที่จุดนัดพบ ตามที่ได้ประสานงานไว้แล้ว ขณะนี้ รถรุ่นใหม่ หน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช 2020 จำนวน 3 คัน อยู่ระหว่างการผลิต กำหนดแล้วเสร็จของรถคันที่ 2 ประมาณเดือนสิงหาคม 2563 และคันที่ 3 และ 4 จะแล้วเสร็จภายในปี 2563

ด้าน รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเพิ่มเติมว่า หน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ (Mobile Stroke Unit) ในรูปแบบของรถมาจากความคิดริเริ่มของศูนย์โรคหลอดเลือดสมองศิริราช พัฒนารถต้นแบบคันแรกเสร็จในปี 2561 ซึ่งต่อมาในปี 2562 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พัฒนาความก้าวหน้าทางสมรรถนะและเทคโนโลยี ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จากสองปีที่เปิดบริการแก่ประชาชนสามารถรองรับการรักษาช่วยผู้ป่วย 287 ราย ตอบโจทย์การแพทย์-ดิจิทัลเฮลท์แคร์และเฮลท์เทค สำหรับ ปี 2563 นี้ จะเป็นรถรุ่นใหม่ หน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช 2020 จำนวน 3 คัน ด้วยความร่วมมือของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยทีมวิศวกรและนวัตกรผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกแบบและพัฒนาโครงสร้างรถ ระบบวิศวกรรมต่าง ๆ และระบบการสื่อสารภายในรถที่ก้าวหน้าทันสมัยด้วยเทคโนโลยี ผ่านการทดสอบสมรรถนะและความปลอดภัยด้านยานยนต์ ตามมาตรฐานสหภาพยุโรป หรือ EU ครบครันด้วยระบบกู้ชีพ และระบบการแพทย์ทางไกล หรือ Telemedicine เชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสารภายในรถกับโครงข่ายสื่อสาร 5G ด้วยซิมครันด้วย

ในส่วนของการสนับสนุนด้านระบบโทรคมนาคมได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากผู้ประกอบการสื่อสารโทรคมนาคมและดิจิทัล ทั้ง ทรู คอร์ปอเรชั่น เอไอเอส และ ทีโอที ซึ่งนำเทคโนโลยี 5G มาเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช (Siriraj Mobile Stroke Unit)

นายรังสรรค์ จันทร์นฤกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจสื่อสารไร้สาย บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และโรงพยาบาลศิริราช ในความร่วมมือทางวิชาการ สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากโครงข่าย 5G ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคม โดยเฉพาะการพัฒนาประเทศด้านสาธารณสุข ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประชาชน ด้วยเป้าหมายให้ประชาชนทุกพื้นที่มีโอกาสได้รับบริการ หรือได้ประโยชน์อย่างเท่าเทียม ทีโอที ให้ความสำคัญกับการให้บริการโทรคมนาคม และบริการดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจากศักยภาพของโครงข่าย 5G ที่มีจุดเด่นเรื่องความเร็วสูง ความหน่วงต่ำ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยให้การรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ มีความละเอียดสูง สามารถสื่อสารผ่านระบบแพทย์ทางไกลความเร็วสูง ทำให้การสื่อสารมีความสะดวก รวดเร็ว คุณภาพสูง มีความแม่นยำ และมีประสิทธิภาพสูง ช่วยให้การประสานงานส่งต่อผู้ป่วยจากหน่วยรถพยาบาลการแพทย์ฉุกเฉิน มาสู่รถ Siriraj Mobile Stroke Unit ด้วยความปลอดภัย ซึ่งการบริการโทรคมนาคมเพื่อสาธารณสุขของไทย ทีโอที ถือเป็นพันธกิจสำคัญในการกระจายโอกาสที่ประชาชนทุกคนจะได้รับบริการที่มีคุณภาพอย่างรวดเร็ว และในอนาคต ทีโอที มีแผนงานที่จะใช้คลื่น 5G นำไปพัฒนาเพิ่มศักยภาพในด้านอื่น ๆ เพื่อจะมีส่วนช่วยในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวมต่อไป


ซึ่งเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร 5G ที่มีเสถียรภาพและความเร็วสูง ผสานกับการออกแบบตัวรถและระบบ Mobile Stroke Unit จะช่วยเรื่องการติดต่อสื่อสารแบบสองทาง การส่งภาพ CT Scan สมองและสัญญาณชีพของผู้ป่วย ซึ่งเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้อย่างรวดเร็วเสมือนกับผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหลอดเลือดสมอง แม้ว่าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะอยู่ห่างออกไปหลายร้อยหรือหลายพันกิโลเมตรก็ตาม ด้วยข้อมูลที่เป็นเรียลไทม์และมีความละเอียดสูงจะส่งผลให้การตัดสินใจวางแผน และทำการรักษาของบุคคลากรการแพทย์สามารถกระทำได้ทันทีและแม่นยำก่อนผู้ป่วยจะเดินทางมาถึงโรงพยาบาล ดังนั้น การมีเทคโนโลยี 5G จะเพิ่มโอกาสให้กับผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกล และลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ขั้นสูงของประชาชนคนไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวทั่วไป

ทีโอที มอบซิม TOT Mobile ให้ รพ.มหาวชิราลงกรณธัญบุรี เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ด้านการแพทย์และสาธารณสุขในช่วงสถานการณ์โรคโควิด-19
อ่านต่อ
ข่าวทั่วไป

ทีโอที มอบซิม TOT Mobile ชุด TOT SIM for Work โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายให้กับโรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลรามาธิบดีและ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
อ่านต่อ
ข่าวประชาสัมพันธ์

TOTmobile ตอบโจทย์การเรียนออนไลน์ โรงเรียนโพธิสารพิทยากร นำร่องมอบซิม TOTmobile ให้นักเรียนทุกคนใช้เรียนออนไลน์ ห่างไกลโควิด-19
อ่านต่อ
ข่าวประชาสัมพันธ์

ทีโอที ใช้ 5G หนุนศักยภาพหน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช 2020
ทีโอที ใช้ 5G หนุนศักยภาพหน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช 2020 เพิ่มโอกาสรักษาผู้ป่วยหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน

วันที่ 26 พฤษภาคม 2563 เวลา 11.00 . คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผนึกกำลัง 3 ผู้นำเทคโนโลยีเครือข่ายอัจฉริยะ 5G ของไทย ได้แก่ ทรู เอไอเอส และทีโอที ซึ่งโดดเด่นในศักยภาพอินเอร์เน็ตความเร็วสูง ความหน่วงต่ำ และความสามารถในการเชื่อมต่ออุปกรณ์หลากหลาย มาเพิ่มประสิทธิภาพให้ “หน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช (Siriraj Mobile Stroke Unit)” รักษาผู้ป่วยที่มีอาการโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันได้เป็นอย่างดี เพื่อชีวิตและสุขภาพของคนไทย โดยมี .ดร. นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล เป็นประธานการแถลงข่าวร่วมกับ รศ. ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล นายพิรุณ ไพรีพ่ายฤทธิ์ หัวหน้าคณะทำงานและกรรมการยุทธศาสตร์ 5G บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) นายรังสรรค์ จันทร์นฤกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจสื่อสารไร้สาย บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ณ ห้องประชุม 101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ (SIMR) ชั้น 1 รพ.ศิริราช

.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า การผนึกกำลังของมหาวิทยาลัยมหิดล สนับสนุนโดยผู้นำเครือข่าย 5G เรามุ่งพัฒนาเพื่อสังคมส่วนรวมให้ประชาชนคนไทยได้เข้าถึงการรักษาในระยะฉุกเฉินให้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันทั้งชนิดตีบและแตกอย่างรวดเร็ว ด้วยหน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช (Siriraj Mobile Stroke Unit) เปรียบเสมือนการนำโรงพยาบาลไปสู่ชุมชน เพื่อลดระยะเวลาในการเปิดหลอดเลือดสมองที่อุดตันทำให้อัตราการเสียชีวิตและพิการลดลงได้ โดยจะใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่มีอาการตาตก ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง แบบเบ็ดเสร็จในรถ ตั้งแต่เริ่มมีอาการไม่เกิน 4 ชั่วโมง โดยผู้พบผู้ป่วยโทรแจ้ง 1669 เข้าศูนย์เอราวัณ ทางศูนย์ฯ จะคัดกรอง แล้วแจ้งต่อไปยังหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) ในเขตที่ดูแลเพื่อให้เข้าไปรับผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ เพื่อตรวจคัดกรองอาการและนำผู้ป่วยมาที่จุดนัดพบสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ขณะเดียวกันทางศูนย์เอราวัณก็แจ้งหน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ ศิริราช (Siriraj Mobile Stroke Unit) ที่มีผู้เชี่ยวชาญโรคหลอดเลือดสมองเป็นผู้รับสายและซักถามอาการ และตามทีมแพทย์ พยาบาล นักรังสีการแพทย์ และพนักงานขับรถ ให้ออกปฏิบัติการรับผู้ป่วย เพื่อการรักษาในรถของหน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช (Siriraj Mobile Stroke Unit) ที่จุดนัดพบ ตามที่ได้ประสานงานไว้แล้ว ขณะนี้ รถรุ่นใหม่ หน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช 2020 จำนวน 3 คัน อยู่ระหว่างการผลิต กำหนดแล้วเสร็จของรถคันที่ 2 ประมาณเดือนสิงหาคม 2563 และคันที่ 3 และ 4 จะแล้วเสร็จภายในปี 2563

ด้าน รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเพิ่มเติมว่า หน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ (Mobile Stroke Unit) ในรูปแบบของรถมาจากความคิดริเริ่มของศูนย์โรคหลอดเลือดสมองศิริราช พัฒนารถต้นแบบคันแรกเสร็จในปี 2561 ซึ่งต่อมาในปี 2562 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พัฒนาความก้าวหน้าทางสมรรถนะและเทคโนโลยี ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จากสองปีที่เปิดบริการแก่ประชาชนสามารถรองรับการรักษาช่วยผู้ป่วย 287 ราย ตอบโจทย์การแพทย์-ดิจิทัลเฮลท์แคร์และเฮลท์เทค สำหรับ ปี 2563 นี้ จะเป็นรถรุ่นใหม่ หน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช 2020 จำนวน 3 คัน ด้วยความร่วมมือของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยทีมวิศวกรและนวัตกรผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกแบบและพัฒนาโครงสร้างรถ ระบบวิศวกรรมต่าง ๆ และระบบการสื่อสารภายในรถที่ก้าวหน้าทันสมัยด้วยเทคโนโลยี ผ่านการทดสอบสมรรถนะและความปลอดภัยด้านยานยนต์ ตามมาตรฐานสหภาพยุโรป หรือ EU ครบครันด้วยระบบกู้ชีพ และระบบการแพทย์ทางไกล หรือ Telemedicine เชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสารภายในรถกับโครงข่ายสื่อสาร 5G ด้วยซิมครันด้วย

ในส่วนของการสนับสนุนด้านระบบโทรคมนาคมได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากผู้ประกอบการสื่อสารโทรคมนาคมและดิจิทัล ทั้ง ทรู คอร์ปอเรชั่น เอไอเอส และ ทีโอที ซึ่งนำเทคโนโลยี 5G มาเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช (Siriraj Mobile Stroke Unit)

นายรังสรรค์ จันทร์นฤกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจสื่อสารไร้สาย บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และโรงพยาบาลศิริราช ในความร่วมมือทางวิชาการ สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากโครงข่าย 5G ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคม โดยเฉพาะการพัฒนาประเทศด้านสาธารณสุข ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประชาชน ด้วยเป้าหมายให้ประชาชนทุกพื้นที่มีโอกาสได้รับบริการ หรือได้ประโยชน์อย่างเท่าเทียม ทีโอที ให้ความสำคัญกับการให้บริการโทรคมนาคม และบริการดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจากศักยภาพของโครงข่าย 5G ที่มีจุดเด่นเรื่องความเร็วสูง ความหน่วงต่ำ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยให้การรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ มีความละเอียดสูง สามารถสื่อสารผ่านระบบแพทย์ทางไกลความเร็วสูง ทำให้การสื่อสารมีความสะดวก รวดเร็ว คุณภาพสูง มีความแม่นยำ และมีประสิทธิภาพสูง ช่วยให้การประสานงานส่งต่อผู้ป่วยจากหน่วยรถพยาบาลการแพทย์ฉุกเฉิน มาสู่รถ Siriraj Mobile Stroke Unit ด้วยความปลอดภัย ซึ่งการบริการโทรคมนาคมเพื่อสาธารณสุขของไทย ทีโอที ถือเป็นพันธกิจสำคัญในการกระจายโอกาสที่ประชาชนทุกคนจะได้รับบริการที่มีคุณภาพอย่างรวดเร็ว และในอนาคต ทีโอที มีแผนงานที่จะใช้คลื่น 5G นำไปพัฒนาเพิ่มศักยภาพในด้านอื่น ๆ เพื่อจะมีส่วนช่วยในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวมต่อไป


ซึ่งเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร 5G ที่มีเสถียรภาพและความเร็วสูง ผสานกับการออกแบบตัวรถและระบบ Mobile Stroke Unit จะช่วยเรื่องการติดต่อสื่อสารแบบสองทาง การส่งภาพ CT Scan สมองและสัญญาณชีพของผู้ป่วย ซึ่งเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้อย่างรวดเร็วเสมือนกับผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหลอดเลือดสมอง แม้ว่าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะอยู่ห่างออกไปหลายร้อยหรือหลายพันกิโลเมตรก็ตาม ด้วยข้อมูลที่เป็นเรียลไทม์และมีความละเอียดสูงจะส่งผลให้การตัดสินใจวางแผน และทำการรักษาของบุคคลากรการแพทย์สามารถกระทำได้ทันทีและแม่นยำก่อนผู้ป่วยจะเดินทางมาถึงโรงพยาบาล ดังนั้น การมีเทคโนโลยี 5G จะเพิ่มโอกาสให้กับผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกล และลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ขั้นสูงของประชาชนคนไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวทั่วไป

ทีโอที มอบซิม TOT Mobile ให้ รพ.มหาวชิราลงกรณธัญบุรี เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ด้านการแพทย์และสาธารณสุขในช่วงสถานการณ์โรคโควิด-19
อ่านต่อ
ข่าวทั่วไป

ทีโอที มอบซิม TOT Mobile ชุด TOT SIM for Work โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายให้กับโรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลรามาธิบดีและ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
อ่านต่อ
ข่าวประชาสัมพันธ์

TOTmobile ตอบโจทย์การเรียนออนไลน์ โรงเรียนโพธิสารพิทยากร นำร่องมอบซิม TOTmobile ให้นักเรียนทุกคนใช้เรียนออนไลน์ ห่างไกลโควิด-19
อ่านต่อ

TOT Business Solution Expert

เราพร้อมให้คำปรึกษา เพราะความสำเร็จ ของคุณคือความภูมิใจของเรา

ขอคำปรึกษา TOT